ภาวะผู้นำทางการศึกษา

ภาวะผู้นำทางการศึกษา (Educational Leadership)

ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ใช้ปัญญาในการชี้นำเพื่อเป็นและต้นแบบที่ดีแก่ผู้อื่นหรือสังคม

ภาวะผู้นำ หมายถึง สภาพหรือลักษณะที่แสดงออกของผู้นำ ซึ่งเป็นผลรวมของบุคลิกภาพ เช่นลักษณะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคมและมนุษยสัมพันธ์ต่อบุคคลอิ่น เป็นต้น

ผู้นำทางการศึกษา หมายถึงบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถใช้ปัญญาชี้นำ และเป็นต้นแบบที่ดีในด้านการศึกษาให้แก้ผู้ตาม

บทบาทของผู้นำทางการศึกษา

1.จะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
เป็นผู้นำทางปัญญา รอบรู้ด้านใดด้านหนึ่งชัดเจน
อาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ดีในอาชีพ

2.ต้องเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นตัวแบบ ตัวอย่างที่ดี
ผู้นำจึงต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ผู้นำต้องเป็นผู้ยอมรับจากผู้อื่น

3.ต้องเป็นนักพัฒนา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเอง เป็นนักพัฒนา มีความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี

4.บทบาทในเชิงบริหาร วิชาการ แก้ปัญหาได้

5.บทบาทในการเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด อารมณ์มั่นคง มีความฉลาด มีอารมณ์ดี และมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง

บทบาทของผู้นำยุคใหม่

บทบาทของผู้นำเป็นการแสดงออกโดยอิสระที่มีผลดีต่อผู้อื่นหรือสังคม เช่น การตัดสินใจการจูงใจให้คนทำงาน การแสดงออกทางความคิด การพูด พฤติกรรมทางอารมณ์การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม เป็นต้น

1.เป็นผู้ชี้นำให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม
ในสังคมแห่งความรู้มีความต้องการบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถชี้นำ
หรือให้คำปรึกษาในฐานะเป็นผู้ชำนาญการหรือผู้เชี่ยวชาญ
เป็นผู้นำทางปัญญาย่อมเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ชัดเจนเรียกว่า ระดับมืออาชีพ (Professional) เช่นครูมืออาชีพ ผู้บริหารมืออาชีพ นักธุรกิจมืออาชีพ เป็นต้น คุณลักษณะมืออาชีพประกอบด้วยความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพของตนเอง

2.เป็นผู้จูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามตัวแบบหรือตัวอย่างที่ดีได้
ผู้ นำจึงต้องปฏิบัติตนเป็นตัวแบบที่ดี ทำให้ผู้อื่นเชื่อถือ ศรัทธายอมรับในบุคลิกภาพ ความคิดเห็น และยอมรับในพฤติกรรมดังกล่าว การจูงใจไม่ใช่เพียงแต่การพูดเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อและปฏิบัติตามเท่านั้นแต่ ผู้นำยังต้องแสดงพฤติกรรมที่ทำให้เป็นตัวอย่างที่น่าเคารพ ศรัทธาทำให้ผู้อื่นรับรู้และปฏิบัติตาม เกิดความเชื่อ ความชอบ และชื่นชม

3.เป็นผู้พัฒนาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่พึงประสงค์ขององค์การหรือสังคม
ผู้ นำจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ มองไกลในอนาคตและทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเองมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและเป็นผู้พัฒนา ให้สังคมอยู่อย่างมีความสุขสร้างความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น และมีความคิดเชิงบวกมองโลกในทางดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม

สรุปได้ว่า

ผู้นำทางการศึกษา จะ ต้องใช้ความรู้ความสามารถนำไปสู่ผลงานทางวิชาการในการพัฒนางานหรือผลงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยเทคโนโลยี และมีความรู้ที่กว้าง มีความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูมเป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้องหรือกล่าวได้ว่าผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุม ตัวเองนั่นเอง (Self Control)

ใส่ความเห็น